6 กลยุทธ์สร้างโอกาสการตลาดในวิกฤติ COVID-19
6 กลยุทธ์สร้างโอกาสการตลาดในวิกฤติ COVID-19
ไม่ว่าใครต่างก็ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 ทั้งทางตรงและทางอ้อม บางอย่างได้ส่งผลกระทบขั้นรุนแรงจนต้องปิดกิจการ หรือประกาศปรับโครงสร้างองค์กรกันยกใหญ่ นักการตลาดและผู้ให้บริการด้านต่าง ๆ ก็ต้องมีการปรับตัวช่องทางการหารายได้ และการรักษาแบรนด์หรือองค์กรให้อยู่รอด เพื่อรักษาทั้งสภาพคล่องทางการเงิน การบริการ และการสร้างความภักดี จนถูกพัฒนามาสู่เป็นกลยุทธ์การสร้างโอกาสหารายได้ และปกป้องแบรนด์ให้รอดพ้นจากภัยครั้งนี้
1. ให้ความสำคัญกับการตลาด B2B :
ในสถานการณ์ที่ลูกค้าไม่สะดวกที่จะซื้อสินค้า หรือมีสินค้าค้างสต็อกในระหว่างเหตุการณ์ ปิดห้างปิดร้าน นอกจากจะปรับกลยุทธ์การค้าขายบนช่องทางออนไลน์แล้ว การทำตลาดระหว่างนักธุรกิจและนักธุรกิจ หรือ B2B จะเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่มีบทบาทสำคัญ
เพราะในบางกรณี องค์กรอาจมีความต้องการสินค้าบางอย่าง หากสามารถทำการเจรจาสำเร็จลุล่วง ก็จะสร้างได้ทั้งคู่ค้า พันธมิตร และเครือข่ายข้อมูลที่สำคัญเลยทีเดียว และยังเป็นการยกระดับให้แบรนด์ของคุณ มีคุณภาพยิ่งขึ้น เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เมื่อการผลิตรถยนต์ต้องชะลอตัว ก็ได้เปลี่ยนมาผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อช่วยสนับสนุนการรักษาผู้ป่วย ในโรงพยาบาลต่าง ๆ แทน
2. เน้นทำคอนเทนต์และโฆษณาบนช่องทางสื่อออนไลน์ :
ในเวลานี้ ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ จะถูกนำเสนอผ่านสื่อ ที่ทุกคนจะถูกจ้องในสายตาเดียวกัน เพื่อติดตามสถานการณ์ การรายงานอัปเดทจำนวนผู้ติดเชื้อ, เผยข้อมูลการพัฒนาไวรัส, เทคนิคการดูแลสุขภาพและความสะอาด รวมถึงคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้อง เมื่อผสานทั้ง SEO, PPC, Social Media ก็จะช่วยเพิ่มยอดผู้ชมได้มากขึ้น
นักการตลาดรวมถึงนักลงทุนจะเห็นช่องทางนี้ในการสร้างคอนเทนต์, สร้างแคมเปญโฆษณา รวมถึงการอัปเดทข่าวสารกันให้เต็มที่มากที่สุด
3. วางแผนค่าใช้จ่ายในการโปรโมทโฆษณา :
ในช่วงเวลานี้ ผู้คนจะให้ความสนใจรับชมข้อมูล หรือเสิร์จข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ต แต่ในขณะเดียวกัน เงินทุนที่ใช้โปรโมทโฆษณาอาจจะไม่สูงพอ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจที่สูญเสียรายได้จากนักท่องเที่ยวที่ลดลง หรือร้านค้าถูกสั่งปิดชั่วคราว
นักการตลาดจะต้องยกระดับการวางแผนโปรโมทโฆษณาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ในงบประมาณที่จำกัด ทั้งการโฆษณาแบบออแกนิคที่ไม่ต้องเสียเงิน ควบคู่กับบูสโพสต์ เน้นการใช้ SEO ในคีย์เวิร์ดที่ต้องการ รวมถึงการทำโฆษณาแบบ Pay Per Click (PPC) เป็นต้น
4. อย่าฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้า เสียรายได้ - ทำลายแบรนด์ :
ในยามวิกฤติ หากสินค้าใดมีความต้องการสูง แต่ขาดตลาด ผู้บริโภคบางคนยอมจ่ายเงินในราคาที่สูงกว่า เพื่อที่จะได้ครอบครอง จึงทำให้มีคนหัวใส กักตุนสินค้าเพื่อขายโก่งราคา เพื่อหวังกำไรระยะสั้น ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมาย และมองภาพลักษณ์แย่ลงกว่าเดิมแล้ว ยังเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นชั่วคราว หากแหล่งผลิตสามารถเพิ่มกำลังการผลิต หรือมีแหล่งผลิตเสริม จนสินค้ามีความเพียงพอต่อความต้องการ สุดท้าย การกว้านซื้อ จะกลายเป็นการขาดทุนย่อยยับในทันที
5. เผยแพร่ข้อมูลจากหน่วยงานสาธารณสุขแก่ผู้ชมออนไลน์ :
ในเวลานี้ผู้ชมสื่อออนไลน์อาจจะเห็นได้ว่า ทั้งช่องทางโซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ และผู้ให้บริการสตรีมมิ่งต่าง ๆ จะมีการปรากฎแบนเนอร์กับ Pop-up ซึ่งจะมีทั้งระบุแค่ข้อความอย่างเดียว ไปจนถึงภาพอินโฟกราฟฟิก ที่เกี่ยวข้องกับไวรัส COVID-19 ทั้งการสังเกตอาการ การดูแลสุขภาพ และอื่น ๆ
จากที่กล่าวข้างต้น เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระหว่าง แบรนด์ หน่วยงานสาธารณสุข จนถึงรัฐบาล ในการเป็นกระบอกเสียงเผยแพร่ข้อมูลและความรู้ที่เป็นทางการ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ประชาชน ส่งผลให้แบรนด์และเว็บไซต์ของคุณ มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น และผู้บริโภคยังได้สัมผัสถึงความห่วงใยจากผู้ให้บริการ เป็นผลดีกว่าที่คิด
6. จัดโปรโมชั่นและสิทธิพิเศษกระตุ้นให้คนอยู่ในบ้าน :
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการลดจำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้ให้บริการด้านสื่อสตรีมมิ่ง, โปรแกรมทำงานแบบเช่ารายเดือน และร้านค้าเดลิเวอรี่ต่าง ๆ ได้จัดแคมเปญโปรโมชั่น เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้บริโภค สามารถอยู่ในบ้านได้อย่างสบายใจ เช่น การแจกแพ็คเกจพรีเมี่ยมฟรีในระยะเวลาจำกัด, โปรโมชั่นลดแลกแจกแถม ในแพลตฟอร์มร้านค้าออนไลน์, ปรับสปีดอินเตอร์เน็ตมากขึ้น ในราคาเท่าเดิม เป็นต้น เช่น The Pizza Company บริการส่งพิซซ่าฟรีถึง 12 เมษายน 2563
แม้ว่ารูปแบบดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อรายได้ในระยะสั้น ๆ แต่จากการให้ประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภค นอกจากจะเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยลดการแพร่เชื้อในทางอ้อมแล้ว ยังเป็นการกระตุ้น Traffic ให้พุ่งสูงขึ้น และกระตุ้นลูกค้าหน้าใหม่ให้เข้ามาใช้บริการมากขึ้น
==========
ในยามวิกฤตครั้งใหญ่นี้ ไม่ว่าใครต่างก็เห็นถึงการปรับกลยุทธ์การตลาด และปรับการให้บริการเพื่อสร้างรายได้ในช่องทางออนไลน์ เพื่อสร้างรายได้, Traffic, ความภักดี และรักษาแบรนด์ให้คงอยู่ รวมถึงเป็นการกระตุ้นให้คนออกข้างนอกน้อยที่สุด ใช้เวลาอยู่ในบ้านมากที่สุด เป็นส่วนหนึ่งของการช่วยลดการแพร่กระจายไวรัส COVID-19 ซึ่งจะช่วยให้สถานการณ์คลี่คลายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
เครดิตข้อมูล
28/04/2020 20:47
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ตรวจสอบและทำความเข้าใจ นโยบายคุกกี้ และดำเนินการต่อ |
รับทราบ |