Avatar กับการสร้างตัวตนในโลกออนไลน์

 

Avatar กับการสร้างตัวตนในโลกออนไลน์

 

Avatar กับการสร้างตัวตนในโลกออนไลน์

 
ช่วงปีที่ผ่านมานี้ personal emoji หรือ ตัวการ์ตูนแบบส่วนตัว ที่ส่วนใหญ่เราจะใช้แทนรูปโปรไฟล์ไฟล์ในโลกโซเซียลมีเดียนั้น ถูกใช้เป็นของเล่นใหม่ และแบรนด์ต่าง ๆ ได้อะไรจากการพัฒนาและผลิตของเล่นชิ้นมาทั้ง ๆ ที่ ต้องลงทุนกับเทคโนโลยีต่าง ๆ มาก ทั้งด้าน AR AI
.
ที่ถือเป็นหนึ่งในเทรนด์การตลาดที่เจาะใจผู้บริโภค ที่ใช้การ #Customization หรือ การที่ลูกค้าสามารถปรับแต่งสินค้าและบริการได้เอง ทำให้เกิดประสบการณ์ร่วมและรู้สึกถึงการเป็นส่วนหนึ่งกับแบรนด์มากขึ้น
 
เริ่มต้นเป็นกระแสในไทยครั้งแรกจากแอป #ZEPETO เนื่องจากเป็นแอปพลิเคชั่นเพิ่มเติมขึ้นมาจากการใช้ Camera ก็สามารถเล่นได้เล่น ฮิตในหมู่วัยรุ่นเป็นจำนวนมากเนื่องจากเราสามารถสร้างคาแรกเตอร์ตัวเอง โดยแสกนจากใบหน้าของผู้ใช้จริง โดยสามารถปรับแต่งใบหน้าให้เหมือนผู้ใช้งานได้มากที่สุด ถูกพัฒนาในประเทสเกาหลีใต้ และยังสามารถชวนกันถ่ายรูปเป็นบอยแบนด์ เกิร์ลกรุ๊ปเก๋ๆ ได้ อยากเปลี่ยนแบคกราวด์เป็นสถานที่จริงก็ได้ ทำให้ฮิตมากช่วงระยะเวลานึง ในขณะที่ Apple หรือ Samsung ต้องลงทุนมากในการซื้ออุปกรณ์รุ่นสูง ๆ ถึงจะใช้งานได้
.
แล้วพัฒนาการของ Avatar ตัวการ์ตูนคาเร็กเตอร์ในแบรนด์อุปกรณ์มือถือสองเจ้าใหญ่เป็นอย่างไรบ้าง ?
 
Memoji
ในปี 2018 #Apple ก็ได้ปล่อย #Memoji ครั้งแรกในเดือนกันยายน ช่วงแรกใช้เป็นอวตารแทนตัวเอง และเพื่อไม่ให้น้อยหน้าหลังจาก แบรนด์คู่แข่งอย่าง Samsung ได้ออกเป็น AR Emoji ภายหลังจึงได้มีการปรับปรุงอีกครั้งใน iOS 12 และเรียกมันว่า Memoji ภายใต้เทคโนโลยีที่ถูกเรียกว่า Animoji โดยปรับการแสดงสีหน้าผ่านทาง TrueDepth ซึ่งเป็นเซ็นเซอร์ 3D โดยมีใบหน้าที่ว่างเปล่าพร้อมตัวเลือกที่ปรับแต่งได้หลากหลายเช่นสีผิวสีผมทรงผมรูปร่างศีรษะรูปทรงตาและสีคิ้วจมูกและริมฝีปากหูและใบหน้าและเส้นผม
 
Samsung MyEmoji
AR Emoji โดยใช้รูปแบบโครงหน้าของเจ้าของเครื่องและปรับแต่งได้มากขึ้น การที่ลูกค้าสามารถปรับแต่งสินค้าและบริการได้เอง สามารถใช้กล้อง สร้างขึ้นมาได้เลยโดยไม่ต้องโหลด แอปพลิเคชั่น เพิ่มเติมโดยเข้าโหมด AR Emoji หรือ อีโมจิ AR กดปุ่ม Create My Emoji ระบบก็จะประมวลผลออกมาให้คล้ายคลึงกับภาพที่ถ่ายมากที่สุด จากนั้นปรับแต่งให้เรียบร้อยทั้งสีผม, แว่นตา, หน้าตา, เสื้อผ้าได้เลย เราก็จะได้เป็น Emoji แบบขยับได้ ซึ่งสามารถได้กับทุก Apps ของคุณที่รองรับ File GIF
 
2 ปีต่อมาทางฝั่งของแพลตฟอร์มหรือแอปพลิเคชั่น อย่าง Facebook และ Line ก็ได้ออกฟีเจอร์ Avatar มาเอาใจผู้ใช้เช่นเดียวกัน ซึ่งสามารถสร้างกระแสได้แรงแล่ะเข้าถึงคนได้มาก
 
Facebook Avatar
15 กันยายน 2020 Facebook Avatar ประเทศไทยเปิดให้ใช้งาน เกิดขึ้นจาก #Bitmoji ของ #Snapchat เริ่มได้รับความนิยมจากทางผู้ใช้ฝั่งอเมริกา Facebook จึงเริ่มพัฒนา Avatar ของตัวเองซึ่งสามารถปรับแต่งรายละเอียดรูปประจำตัวได้ไม่ต่างจากค่ายอื่น เพื่อจำลองลักษณะทรงผม ใบหน้า ริ้วรอย และหนวดเคราตามแต่ผู้ใช้จะเลือก สามารถเลือกโทนสีผิว รูปร่าง แล้วแต่งตัวรวมถึงจัดแต่งทรงผมตามใจต้องการ
 
Line Avatar
ปลายเดือนกันยายน 2020 Line ประเทศไทยก็ได้เปิดตัว Line Avatar แม้จะปล่อยในช่วงเวลาที่ไล่เลี่ยกันแต่กับไม่ได้รับความนิยมมากนัก เพราะมีความเป็นส่วนตัวมากกว่า Facebook จึงไม่เกิดกระแสแรงเท่ากับ Facebook แต่ทางไลน์ Line ผนวกเทคโนโลยี AR เข้ามาให้เราสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวบนใบหน้าของอวาตาร์ได้ ทั้งยังสร้างได้มากถึง 5 ตัวด้วยกัน
 
ฟีเจอร์อวาตารปัจจุบันถึงเป็นฟีเจอร์ที่ต้องมี และสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นมากกว่าแต่ก่อน และยังคงถูกพัฒนาไปพร้อมกับเทคโนโลยี AR Ai หรือแม้กระทั่งกล้องถ่ายรูป ซึ่งทุกแบบขึ้นอยู่กับความชอบที่เป็นปัจเจคเฉพาะตัวของผู้ใช้งานที่สามารถกำหนดได้เอง สร้างได้เอง ในอนาคตเราน่าจะได้เห็นอวาตารที่ล้ำมากว่าตอนนี้ก็เป็นได้
 
การมีการ์ตูนอวาตารที่เหมือนตัวผู้ใช้เอง ทำให้การส่งข้อความถึงเพื่อนและครอบครัวของผู้ใช้เกิดเป็นประสบการณ์ที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น นอกจากนนี้ยังเหมาะกับกลุ่มคนที่ไม่มั่นใจในตัวเองและสบายใจกว่าเมื่อใช้รูปอวาตารมาแทนตัวเองในโลกออนไลน์ได้อีกด้วย ตอกย้ำประโยชน์ของการที่แบรนด์สามารถให้ลูกค้า #Customization เองได้
 
แล้วทุกคนชอบอวาตารของค่ายไหนมากที่สุดครับ ลองมาแชร์กัน 😍

 

ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง กับ Avatar กับการสร้างตัวตนในโลกออนไลน์

พัฒนาการของ Avatar ตัวการ์ตูนคาเร็กเตอร์ในแบรนด์อุปกรณ์มือถือสองเจ้าใหญ่เป็นอย่างไรบ้าง ?

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ตรวจสอบและทำความเข้าใจ นโยบายคุกกี้ และดำเนินการต่อ

รับทราบ