โซเชียลมีเดียทางการแพทย์ เพื่อหยุดไวรัส COVID-19

 

โซเชียลมีเดียทางการแพทย์ เพื่อหยุดไวรัส COVID19

 

โซเชียลมีเดียทางการแพทย์ เพื่อหยุดไวรัส COVID-19

 

โซเชียลมีเดียทางการแพทย์ เพื่อหยุดไวรัส COVID-19

เทคโนโลยีออนไลน์ - โชเชียลมีเดีย เป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างมาก ในฐานะตัวกลางเชื่อมความสัมพันธ์ของผู้คน ท่ามกลางการแพร่ระบากของไวรัส COVID-19 เพื่อการรายงานข้อมูลตัวเลข สถิติ ทิศทางการแพร่ระบาด ไปจนถึงการให้ความรู้ดูแลสุขภาพ หรือการป้องกันที่ถูกต้อง แก่ผู้คนได้อย่างรวดเร็ว กว้างขวาง และเชื่อถือได้ อันเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยชะลอ หรือหยุดยั้งการระบาดของไวรัสไม่ให้ขยายวงกว้าง โดยมีกลยุทธ์ที่น่าสนใจดังนี้


1. เป็นเครื่องมือกระจายข้อมูลสาธารณสุขแก่คนทั่วไปได้รวดเร็ว :

เหล่าแพทย์ เภสัช รวมถึงบล็อกเกอร์ผู้มีความรู้ด้านสาธารณสุข ต่างใช้ช่องทางออนไลน์ และโซเชียลมีเดีย อาทิ Facebook, Twitter, Line, Youtube, ในการเผยแพร่กระจายข้อมูลข่าวสาร แก่บุคคลทั่วไป ให้กว้างขวางมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นบทความ, วิดีโอ หรือแม้แต่อินโฟกราฟฟิก

ด้วยการที่ผู้คนรับข่าวสารจากหน่วยงาน และผู้เชี่ยวชาญได้อย่างรวดเร็ว จะทำให้ผู้รับข่าวสารสามารถวางแผนป้องกันตัวได้แต่เนิ่น ๆ ลดความกังวล และทำหน้าที่ในการกระจายข่าว ผ่านการแชร์ต่อเป็นทอด ๆ เช่น การสังเกตอาการกลุ่มเสี่ยง, การดูแลรักษาความสะอาด, การประดิษฐ์หน้ากากผ้าหรือชิลด์ป้องกันหน้า, ประกาศเคอร์ฟิวต่าง ๆ เป็นต้น

เช่น Facebook Fanpage ได้แก่

หมอแล็บแพนด้า https://www.facebook.com/MTlikesara/

เชื่อแมวเหอะ(รู้ไหมว่าตัวเองโดนหลอก) https://www.facebook.com/TrustMePleaseIamACat/

สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค https://www.facebook.com/สถาบันบำราศนราดูร-กรมควบคุมโรค-924577477711780/


2. ให้ข้อมูลส่วนตัวแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบผ่านอีเมล หรือแชท:

การสอบถามข้อมูลระหว่างแพทย์และผู้ป่วย หรือคนใกล้ชิดที่ต้องการความเป็นส่วนตัว  เช่น สถานะอาการผู้ป่วยของคนใกล้ชิด ไปจนถึสิทธิ์การรักษาต่าง ๆ ในช่วงแรก ๆ จะเป็นการโทรศัพท์ผ่านสายด่วน หรือ Call Center แต่ในยุคปัจจุบัน สามารถเลือกได้ทั้งการแชทส่วนตัวผ่าน Messenger, Line, Skype และอื่น ๆ

อีเมล (e-Mail) ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สามารถให้ข้อมูลต่าง ๆ เป็นการส่วนตัวได้ ไม่ว่าจะเป็นสถานะผู้ป่วย, อาการ, การรักษา และอื่น ซึ่งมีจุดเด่นที่น่าสนใจก็คือ สามารถส่งข้อมูลรายงานต่าง ๆ ที่มีความละเอียดสูง และไฟล์ก็ไม่หมดอายุ สามารถเก็บไว้เพื่อเปรียบเทียบได้

ตัวอย่างช่องทาง e-Mail ได้แก่

โรงพยาบาลราชวิถี crm@rajavithi.go.th

โรงพยาบาลเปาโล paolo@paolohospital.com

โรงพยาบาลพระราม 9 info@praram9.com


3. ประกาศรายงานความพร้อมด้านต่าง ๆ ในสถานพยาบาล :

ในกรณีที่มีความประสงค์จะเข้ารักษาพยาบาลจริง ๆ แต่ยังขาดความมั่นใจในด้านสุขลักษณะ ความพร้อมด้านอุปกรณ์ป้องกันและบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ประกอบการสถานพยาบาล และคลินิกท้องถิ่นจึงจะเป็นต้องมีการเผยแพร่ หรืออัปเดทข้อมูลด้านความพร้อมของทีมแพทย์,  เพิ่มมาตรการต่าง ๆ  และการรายงานสุขลักษณะอนามัยในสถานพยาบาลแบบเรียลไทม์ ผ่านโซเชียลมีเดีย ให้ผู้คนได้รับทราบในข้อมูลทางเดียวกัน

เช่น Line Official ของสถานพยาบาลให้ผู้สนใจได้กดติดตาม ได้แก่

โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 http://line.me/ti/p/@chularat3

โรงพยาบาลบํารุงราษฎร์ https://line.me/R/ti/p/%40bumrungradhospital

โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล https://line.me/R/ti/p/%40xqm5501o

เพื่อช่วยให้ผู้รับข้อมูลรู้สึกสบายใจ สามารถตัดสินใจเลือกรักษาสถานพยาบาลได้ตามความต้องการ ส่งผลต่อการลดความแออัดและความล่าช้าในสถานพยาบาลบางแห่งได้


4. ใช้เทคโนโลยีออนไลน์ยกระดับการดูแลผู้ป่วยรายใหม่ :

หากติดตามข่าวสารมาได้สักระยะ จะพบว่าในเวลานี้ได้มีตัวเลขผู้ป่วยใหม่ ๆ เพิ่มสูงขึ้น สิ่งที่ต้องตามมาก็คือ ภาระของสถานพยาบาล บุคลากร ไปจนถึงเครื่องไม้เครื่องมือ และการดูแลที่ขาดความทั่วถึง

ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีออนไลน์ และโซเชียลมีเดียในการให้ข้อมูล ความรู้ การฝึกฝนแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ต่าง ๆ ไปจนถึงเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สำคัญ เพื่อเตรียมความพร้อมในการหน้าที่ผู้ดูแล  ตั้งแต่การรักษาอาการเจ็บป่วยทั่ว ๆ ไป แทนการเข้าไปยังโรงพยาบาล จนถึงทำหน้าที่เป็นหูเป็นตา คัดกรองกลุ่มเสี่ยงจากต้นทาง ให้สามารถเข้าถึงมือแพทย์ได้ก่อนที่จะไปแพร่กระจายเป็นวงกว้าง

เช่น  Youtube Channel ได้แก่

โรงพยาบาลกรุงเทพ https://www.youtube.com/user/bangkokhospital/

Siriraj Channel https://www.youtube.com/channel/UCGUJbelYapPkMIYFds1lfsw

Samitivej Hospitals https://www.youtube.com/user/samitivejhospitals


==========

เทคโนโลยีออนไลน์ และโซเชียลมีเดีย เปรียบเสมือนเป็นสะพานการรับส่งข้อมูลที่รวดเร็ว กว้างขวาง และสะอาดที่สุด แต่สิ่งสำคัญยิ่งกว่าก็คือการส่งข้อมูลต่าง ๆ ควรอยู่บนพื้นฐานข้อมูลที่เป็นจริง ถูกต้อง เพราะหากได้รับข้อมูลข่าสสารที่ผิดพลาด จะส่งผลต่อความวุ่นวายเป็นวงกว้าง และทำให้แผนการลดการแพร่กระจายเชื้อไวรัส มีความยากลำบากยิ่งขึ้นไปอีก


เครดิตข้อมูล : https://healthcaresuccess.com/blog/healthcare-advertising-agency/coronavirus-5-ways-you-can-use-social-media-and-digital-marketing-to-help-the-public-during-the-covid-19-pandemic.html?fbclid=IwAR3WJkpiEt7qB3CmyqQKT-4PFbLbxnyyC7tWYdzAffkEYvwga1lQrIlVZQg


ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง กับ โซเชียลมีเดียทางการแพทย์ เพื่อหยุดไวรัส COVID-19

เทคโนโลยีออนไลน์ - โชเชียลมีเดีย เป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างมาก ในฐานะตัวกลางเชื่อมความสัมพันธ์ของผู้คน ท่ามกลางการแพร่ระบากของไวรัส COVID-19 เพื่อการรายงานข้อมูลตัวเลข สถิติ ทิศทางการแพร่ระบาด ไปจนถึงการให้ความรู้ดูแลสุขภาพ หรือการป้องกันที่ถูกต้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ตรวจสอบและทำความเข้าใจ นโยบายคุกกี้ และดำเนินการต่อ

รับทราบ