การ์ทเนอร์ (Gartner, Inc.) บริษัทวิจัยและที่ปรึกษาชั้นนำของโลกทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (IT) เผย 10 เทคโนโลยีสำคัญในปี 2020 นี้ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในอนาคต และมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างรวดเร็วจนถึงระดับสูงสุดในช่วงอีก 5 ปีข้างหน้า
1. Hyperautomation
ไฮเปอร์ออโตเมชั่นเป็นการผสานรวมเทคโนโลยี Machine Learning (ML),
ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป และเครื่องมือต่างๆ สำหรับระบบงานอัต โนมัติเข้าไว้ด้วยกันเพื่อรองรับการ
ทำงานและทำหน้ที่แทนมนุษย์ นอกจากจะครอบคลุมเครื่องมือที่หลากหลายแล้ว ยังครอบคลุมทุก
ขั้นตอนของระบบงานอัตโนมัติ (ค้นหาวิเคราะห์ ออกแบบ ดำเนินการโดยอัตโนมัติ ตรวจวัด กำกับดูแล และประเมินผล) โดยการทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกที่หลากหลายของระบบอัตโนมัติ เพื่อให้ทำงานร่วมกันได้อย่างกลมกลืน ถือเป็นหัวใจสำคัญของไฮเปอร์ออโตเมชั่น
2. Human Augmentation
เป็นการใช้เทคโนโลยีปรับปรุงขีดความสามารถด้านกายภาพของ
มนุษย์ ด้วยการปลูกถ่ายหรือติดตั้งส่วนประกอบทางด้านเทคโนโลยีบนร่างกาย เช่น อุปกรณ์สวมใส่ส่วน Augmentation ในด้านการรับรู้ จะอาศัยการเข้าถึงข้อมูลและการใช้แอปพลิเคชันบนระบบคอมพิวเตอร์ และในช่วง 10 ปีข้างหน้า จะนำไปสู่กระแส "Consumerization" รูปแบบใหม่ ชืงพนักงานสามารถใช้เทค โนโลยีเพื่อเสริมสร้างและขยายขีดความสามารถของตนเอง และปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานภายในสำนักงานได้
3. บล็อกเชนที่ใช้งานได้ในทางปฏิบัติ
เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มีศักยภาพที่จะพลิกโฉม
อุตสาหกรรมต่างๆ โดยจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ ความโปร่งใส และรองรับการแลกเปลี่ยนมูลค่าในระบบนิเวศทางธุรกิจ ทั้งยังช่วยลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย เพิ่มความรวดเร็วในการทำธุรกรรม และปรับปรุงกระแสเงินสด เทคโนโลยีดังกล่าวช่วยให้สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของสินทรัพย์ จึงลดโอกาสที่จะมีการสลับเปลี่ยนเป็นสินด้ปลอม นอกจากนี้ การตรวจสอบติดตามสินทรัพย์ยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่น การตรวจสอบสินค้าประเภทอาหารในชัพพลายเชนเพื่อระบุแหล่งที่มาของการปนเปื้อน อย่างไรก็ตามบล็อกเชนยังขาดความพร้อม สำหรับการใช้งานในระดับองค์กรเนื่องจากยังมีปัญหาด้านเทคนิคมากมายหลายประการ
4. ระบบคลาวด์แบบกระจาย (Distributed Cloud)
หมายถึงการกระจายตัวของบริการคลาวด์
สาธารณะไปยังสถานที่ต่างๆ โดยที่ผู้ให้บริการต้นทางของคลาวด์สาธารณะมีหน้าที่ควบคุม กำกับ
ดูแล ปรับปรุง และพัฒนาบริการดังกล่าว ซึ่งนับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญจากเดิมที่บริการคลาวด์สาธารณะส่วนใหญ่มีลักษณะรวมศูนย์ (Centralized) และการเปลี่ยนแปลงนี้จะนำไปสู่ศักราชใหม่ของคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing)
5. Multiexperience
ประสบการณ์การใช้งานบนโลกดิจิทัลจะเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยเฉพาะ
ประสบการณ์ในการใช้งานแพลตฟอรมสนทนา ภายใต้การนำเทคโนโลยีโลกเสมือนจริงมาใช้
ตั้งแต่ Virtual reality (VR), Augmented Reality (AR) และ Mixed Reality (MR) การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้ทั้งในส่วนของรูปแบบการรับรู้และการมีปฏิสัมพันธ์จะนำไปสู่ประสบการณ์แบบพหุประสาทสัมผัส (Multisensory) ในหลากหลายรูปแบบ
6. Empowered Edge
เอดจ์คอมพิวติ้ง (Edge Computing) เป็นโครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ที่จัดวางการประมวลผลข้อมูล รวบรวมและนำเสนอคอนเทนต์ไว้ใกล้กับแหล่งที่มา คลังข้อมูล และผู้ใช้ข้อมูลดังกล่าว ความสนใจเอดจ์คอมพิวติ้งในปัจจุบัน ส่วนใหญ่มาจากความจำเป็นของระบบ loT(Internet of Things) ที่ต้องรองรับการทำงานในลักษณะกระจัดกระจายในโลกของ IoT ที่มีอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆ อย่างไรก็ตาม ในอนาคตเอดจ์คอมพิวติ้งจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อทุกกลุ่มอุตสาหกรรมและทุกการใช้งาน เช่น หุ่นยนต์ โดรน ยานพาหนะไร้คนขับ
7. ระบบรักษาความปลอดภัย AI
ระบบรักษาความปลอดภัย AI โดย Al และ ML จะยังคงถูกใช้งานเพื่อยกระดับการตัดสินใจของ
มนุษย์ในการใช้งานที่หลากหลาย ในขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดปัญหาท้าทายใหม่ๆ เพราะจะทำให้มช่องทางการโจมตีเพิ่มขึ้นอย่างมากจากการใช้งาน oT, คลาวด์คอมพิวติ้ง, ไมโครเซอร์วิส และระบบที่มีการเชื่อมต่อกันอย่างกว้างขวาง ผู้บริหารฝ่ายรักษาความปลอดภัยและความเสี่ยง ควรจะให้ความสำคัญกับ 3 เรื่องหลักๆ ได้แก่ การปกป้องระบบที่ขับเคลื่อนด้วย A, การใช้ เพื่อปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัย และการคาดการณ์เกี่ยวกับการใช้งาน A โดยคนร้ายที่ต้องการโจมตีเครือ
8. Transparency and Traceability
ผู้บริโภคจะตระหนักรู้มากขึ้นว่าข้อมูลส่วนตัวของตนมีมูลค่า
และจึงต้องการควบคุมข้อมูลดังกล่าว องค์กรต่างๆ รับรู้ถึงความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นในการปกป้อง
และจัดการข้อมูลส่วนตัว ขณะที่รัฐบาลเริ่มบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวด เพื่อให้มีการคุ้มครองและ
จัดการข้อมูลดังกล่าวอย่างเหมาะสม ความโปร่งใส (Transparency) และการตรวจสอบย้อนกลับ(Traceability) ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนจริยธรรมทางดิจิทัล (Digital Ethics) และการปกป้องความเป็นส่วนตัว
9. อุปกรณ์อัตโนมัติ
(Autonomous Things) อุปกรณ์ที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์หรือ A เพื่อทำงานโดย
อัตโนมัติ จะเข้ามาแทนที่มนุษย์ ได้แก่ หุ่นยนต์ โดรน ยานพาหนะ/เรือไร้คนขับ และเครื่องมือต่างๆ ที่ทำงานได้เอง การทำงานแบบอัตโนมัติที่ว่านี้ จะครอบคลุมขอบเขตมากกว่าการทำงานอัตโนมัติตามโมเดลที่ตั้งค่าไว้อย่างตายตัว กล่าวคือ อุปกรณ์เหล่านี้จะใช้ เพื่อทำงานขั้นสูง และโต้ตอบกับคนหรือสิ่งรอบข้างได้อย่างเป็นธรรมชาติมากขึ้น ขณะที่กฎระเบียบจะมีการเปิดกว้งและอนุญาตให้ใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้มากขึ้น สังคมให้การยอมรับมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้อุปกรณ์อัตโนมัติถูกใช้งานในพื้นที่สาธารณะที่ปราศจากการควบคุม
10.Democratization of Expertise
ซึ่งจะทำให้ผู้คนเข้าถึงความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค เช่น ML,
การพัฒนาแอปพลิเคชัน, ความเชี่ยวชาญด้านการขาย, การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ ผ่าน
ประสูบการณ์ที่เรียบง่ายกว่าเดิม ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการฝึกอบรมที่ยาวนานและเสียค่าใช้จ่าย
จำนวนมาก ตัวอย่างเช่น นักพัฒนาทั่วไปที่สามารถทำหน้าที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data
Scientists) หรือผู้ติดตั้งระบบได้ โดยไม่ต้องมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ตลอดจนสามารถพัฒนาโปรแกรมหรือสร้างโมเดลข้อมูลได้โดยไม่ต้องเขียนโค้ด (Code) รวมทั้งบุคลากรที่ไม่ได้อยู่ในสายงานไอที ก็อาจสามารถใช้เครื่องมือและระบบความเชี่ยวชาญเพื่อสามารถใช้ทักษะเฉพาะด้านได้
อัพเดทเทรนเทคโนโลยีก่อนใคร ทักเลย!
LINE : @alltimage
: 080-998-6249
: contact@alltimage.com