จุดเริ่มต้น Snapchat ทำไมปฏิเสธเงิน 2 แสนล้าน ?

 

จุดเริ่มต้น Snapchat ทำไมปฏิเสธเงิน 2 แสนล้าน

 

จุดเริ่มต้น Snapchat ทำไมปฏิเสธเงิน 2 แสนล้าน ?

 
"จะโพสต์เรื่องราวเมื่อไหร่ก็ได้แต่ 24 ชม จะหายไป" เป็นฟีเจอร์ที่หลาย ๆ คนน่าจะคุ้นชินกันมาจาก IG Story หรือ Facebook Story แต่รู้หรือไม่ว่าฟีเจอร์ทั้งใน IG และ Facebook ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้เพิ่งเกิดขึ้นมาเมื่อ 4 ปีให้หลังมานี้ แต่วันนี้เราจะพามารู้จัก เจ้าของไอเดียที่เริ่มต้นธุรกิจและเติบโตมาแล้วกว่า 10 ปี ภายใต้แอปพลิเคชั่นที่มีชื่อว่า #snapchat
.
SnapChat แอปแชทที่วัยรุ่นนิยมใช้มากกว่าแอปแชทอื่น ๆ แม้จะถูกแอปโซเชียลมีเดียอย่าง Tiktok Instagram Facebook เข้ามาแย่งพื้นที่ไปบ้างแต่ก็ยังคงสามารถครองใจผู้ใช้มาจนถึงทุกวันนี้ ตลอดระยะเวลา 10 ปี สตาร์ทอัพเกิดขึ้น เติบโต และต้องผ่านอุปสรรคอะไรมาบ้าง กว่าจะมียอดผู้ใช้งานกว่า 290 ล้านคนและ 4000 ล้าน Snap ต่อวัน
.
วิสัยทัศน์ที่ไกล และทีมงานที่ดี ช่วยให้ธุรกิจเติบโต
Reggie Brown ได้ริเริ่มเนวคิด "โซเชียลมีเดียขนาดใหญ่ให้คนที่เป็นเพื่อนกันติดต่อกัน ผู้ใช้สามารถโพสต์รูปหรือวิดีโอที่ในเวลา 24 ชม ก็จะหายไป" ขึ้นในคลาสเรียนวิชาธุรกิจ แต่ไม่มีแผนธุรกิจหรือวิธีการสร้างรายได้จากไอเดียนี้จึกไป เสนอไอเดียกับ Evan Spiegel
ปัจจุบัน Evan Spiegel คือ CEO และผู้ร่วมก่อตั้ง จากนั้นอีวานก็ได้ไปชักชวน บ๊อบบี้ ที่มีความถนัดด้านโปรแกรมเมอร์ เข้ามาร่วมด้วยอีกแรง ปัจจุบัน Bobby Murphy เป็น CTO และผู้ร่วมก่อตั้ง ในเดือนกรกฏาคม 2011 ก็ได้ออกแอป #pickaboo (การเล่นจ๊ะเอ๋) และนำ feedback จากผู้ใช้งานมาปรับปรุงในระยะเวลา 2 เดือน จนออกแอป #snapchat ออกมาโดยให้ความสำคัญกับ ประสบการณ์ของผู้ใช้งานมากที่สุด
.
แต่ไม่นาน Reggie Brown ก็ถูกบีบให้ออกจาก Project ไปเนื่องจากไม่ีส่วนร่วมในการสร้างและการเติบโตกับเพื่อนเลย ให้เพื่อนสร้างงานจากไอเดียของตัวเองแต่ไม่ลงมือทำงาน ดังนั้นการมีทีมงานที่ดีนั้นสำคัญมาก หากเราจะทำให้ธุรกิจจะต้องแบ่งหน้าที่ ความรับผิดชอบ และส่วนแบ่งให้ชัดเจน เพื่อป้องกันความขัดแย้งหลังจากธุรกิจเติบโต
.
1 วินาที 25 Snapchat
ภายในเวลาไม่ถึง 1 ปีก็สามารถสร้างสถิติ 1 วินาที 25 Snapchat จากฟีเจอร์ที่น่าสนใจนอกเหนือจากวิดีโอที่จะหายไปใน 24 ชมคือ เราสามารถส่งข้อความได้ทั้งข้อความ ภาพ และวิดีโอ โดยวิดีโอจำกัดความยาวที่ 15 วินาที และเมื่อเปิดอ่าน จะลบข้อความทันทีที่อ่าน หรือครบเวลาที่กำหนดตั้งแต่ 1 – 10 วินาทีข้อความจะหายไปเอง หรือ ถ้าสมมติว่าทางฝั่งตรงข้ามกดที่หน้าจอเพื่อจะ Capture ภาพของเรา แอปจะมีการแจ้งเตือน เพียงแค่ 3 ฟังก์ชันนี้ก็ทำให้ผู้ใช้งานติดงอมแงมจนไม่สามารถออกจากการใช้งานแอปได้ เพราะกลัวพลาดอะไรที่สำคัญไป
.
และ Snapchat ก็ได้เติบโตจากเหล่าผู้ใช้คนดังที่เข้ามาช่วยเสริมอีกแรง เนื่องจากต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า "เป็นแอปที่ติดต่อสื่อสารกันได้อย่างสนุกกว่าแอปแชททั่วๆ ไป" ทำให้เห็นได้ว่าสินค้าหรือบริการต้องไม่ขายที่คุณค่าของสินค้าอย่างเดียว ควรที่จะออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดีด้วย ต้องออกแบบให้ดี เพื่อให้เกิดความประทับใจและกลับมาใช้ซ้ำอีกครั้ง
.
ปฏิเสธ 1 แสนล้าน พาบริษัทสู่ 2 ล้านล้านบาท
วันนึงเมื่อ Snapchat เริ่มเติบโตมาอย่างสวยงาม Facebook ก็ขอเจรจาซื้อกิจการด้วย จำนวนเงินสูงถึง 1 แสนล้านบาท และคุณพ่อเทคโนโลยีอย่าง Google พยายามตามจีบโดยมีข่าวลือมาว่า Google ยื่นข้อเสนอให้กับทาง Snapchat 9.9 หมื่นล้านบาท แต่ก็โดนปฏิเสธไปทั้งคู่ด้วยเหตุผลที่ว่า "จำนวนเงินน้อยเกินไป" เช่นกัน
.
แม้ในภายหลังจะมีเจ้า โซเชียลมีเดียอย่าง Facebook Instagram WhatApp Line Messenger หรือแม้กระทั่ง Twitter ที่เริ่มมีฟีเจอร์ Stories เข้ามาก็ไม่ทำให้ความพยายามที่จะให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของผู้ใช้งานเป็นสำคัญของ Snapchat ลดลงและผู้ใช้ต่างยังรักเหมือนเดิม การมองอนาคตของธุรกิจให้ออก ทำให้ทราบว่าธุรกิจที่ดำเนินอยู่สามารถเติบโตได้มากแค่ไหน
.
ในวันนี้ Snapchat ก้าวสู่บริษํทมูลค่า 2 ล้านล้าน แม้จะเจออุปสรรคมาอย่างมากมาย ทั้งปัญหาในทีมผู้ก่อตั้ง การก๊อปฟีเจอร์ที่น่าสนใจ และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปทุกวัน
.
เสน่ห์ความเป็น Real-Time ที่น่าจับตามองของ Snapchat ยังคงสามารถดึงดูดผู้ใช้ในไทยได้เนื่องจากตลาดยังไม่เติบโต จับฉพาะกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นที่อยากหลีกหนี พ่อแม่ญาติพี่น้องเข้าไปหายตัวในแอป Snap Chat ได้เลย แม้ในตอนนี้ในไทยจะนิยม Instagram กับฟังก์ชั่น Stories มากกว่าอาจเพราะฐานผู้ใช้มีความคล้ายคลึงกับ Snapchat เติบโตมากในตลาดไทยที่ใกล้จะเต็มเต็มที หรืออาจจะถึงเวลาของ Snapchat แล้วที่จะเติบโตอย่างสง่างามในไทย 😆

 

ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง กับ จุดเริ่มต้น Snapchat ทำไมปฏิเสธเงิน 2 แสนล้าน ?

เรื่องราวความเป็นมาของ Snapchat ต้นฉบับของฟังก์ชัน IG story เรื่องราวเมื่อไหร่ก็ได้แต่ 24 ชม จะหายไป

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ตรวจสอบและทำความเข้าใจ นโยบายคุกกี้ และดำเนินการต่อ

รับทราบ