แอป ‘Clubhouse’ แอปพลิเคชันสนทนาผ่านเสียง โซเซียลมีเดียที่ได้รับความสนใจจากคนทั่วโลก ตอนนี้กระแสความนิยมอาจลดต่ำลงเล็กน้อย
แม้เวลาผ่านไปแล้วร่วมเดือน ส่วนหนึ่งเนื่องจากธรรมชาติของแอปที่จำเป็นต้องมีเวลามากในการเข้าใช้งานแต่ละครั้ง
หรือข้อจำกัดในการเข้าร่วมผู้คุยต่าง ๆ ขณะเดียวกันกับความนิยมที่กำลังลดลงทางทีมงานกำลังพัฒนาแอปพลิเคชันอย่างต่อเนื่อง
วันนี้เราจะมาวิเคราะห์ถึงปัจจัยและแนวโน้มของแอป ‘Clubhouse’ กัน
1.ผู้ใช้บางคนโดนแบน บางคนยังเข้าไม่ได้
หลังจากเริ่มมีการใช้งานมากขึ้น ขณะที่ผู้ใช้ในไทยบางคนเริ่มถูกแบน (ชั่วคราว) เนื่องจากใช้งานแอปพลิเคชั่นผิดประเภท
ส่วนใหญ่เกิดจากการเข้าไปเปิดห้องแต่ไม่มีการพูดคุยหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า จัดตั้ง ‘ห้องเงียบ’ หรือ ‘Silent room’ ห้องที่ไม่มีการพูดคุยใด ๆ
ซึ่งถือเป็นการกระทำการผิดกฎ ในเวลาเดียวกันที่ผู้ใช้บางคนยังคงต้องรอคอย #invitations รวมถึงผู้ใช้งาน
ระบบ android ที่ยังไม่สามารถเข้าใช้งานได้เนื่องจาก ประสบปัญหาการทีม Clubhouse กำลังอยู่ในช่วงของการพัฒนาระบบ
2.กระแสชั่วคราว หรือโซเซียลมีเดียที่ยั่งยื่น
‘Clubhouse’ ได้รับความรับสนใจจากการบอกต่อของเหล่าคนดังและผู้มีอิทธิพลที่เป็นจุดกระจายเสียง
และเปิดโอกาสให้คนธรรมดาที่มี Connection ได้ร่วมพูดคุย แต่ในไทยเมื่อเวลาผ่านไปร่วมเดือน
ส่วนหนึ่ง "เวลาก็เริ่มไม่ตรงกัน" เพราะไม่สามารถบันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นในห้องสนทนาได้ ทำให้ไม่เกิดการเอาเล่าซ้ำหรือแชร์ต่อในโซเซียล
ความพิเศษที่ผู้คนต้องเข้าใช้งานแอปตลอดเวลา กลายเป็นจุดอ่อนที่ทำให้คนหายไปเมื่อไม่มีเวลา
ส่วนหนึ่ง ก็ยังคงอยู่ด้วยจุดยืนของแอปที่คนส่วนใหญ่เข้ามาแชร์นั้นประสบความสำเร็จ
เรามี Content ที่มีประโยชน์ให้คนอื่น ทุกคนจะส่งต่อสิ่งดีๆ ให้กับคนอื่น และสามารถสร้างแรงกระแสใหม่ ๆ
ในสังคมด้วย ซึ่งในอนาคต ‘Clubhouse’ จะกลายเป็นตลาดเฉพาะกลุ่มมากขึ้น
ผลัดจากช่วงเวลาที่ทุกคนเข้ามาดูเพื่อทำความารู้จักแล้ว เริ่มสามารถสร้าง Connection ในชีวิตจริงได้
3.เร่งพัฒนาก่อนที่เจ้าใหญ่จะมายึดพื้นที่คืน
บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่าง "Facebook" และ "Twitter" เตรียมปั้นฟีเจอร์ห้องแชตด้วยเสียงมาแข่งขัน
ล่าสุดทาง Twitter ก็ไม่น้อยหน้า ได้ออกฟีเจอร์ “Spaces” (สเปซ) แทบจะคล้ายคลึงกับคลับเฮาส์เลยทีเดียว
และข้อดีของฟีเจอร์นี้คือ ผู้ใช้สามารถใช้งานจากตัวแอพ ออริจินัลได้เลย
ขณะเดียวกันทาง Facebook ก่อนหน้านี้ก็ได้ออกฟังก์ชัน “Messenger Room” (เมสเซนเจอร์ รูม) มาให้ใช้สนทนาวิดีโอแบบกลุ่มมาระยะหนึ่งแล้ว
แต่ไม่ได้รับความนิยมขนาดนั้น แต่ทางเฟซบุ๊คกำลังพัฒนาฟังก์ชันการสนทนาให้ออกมาน่าสนใจเทียบเท่าคลับเฮาส์อยู่
ดังนั้นกว่าทีม Clubhouse จะพัฒนาให้ชาว Android ได้ใช้อาจจะมีเทคโนโลยีโซเซียลมีเดียอื่นเข้ามาทดแทนแล้ว
แม้ในช่วงนี้กระแสของการใช้งานผู้ใช้ Clubhouse จะลดลงไปมาก แต่ยังคงมีผู้ใช้เฉพาะกลุ่มผลัดกันเข้ามาแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้กันอยู่อย่างไม่รู้จบ
ในอนาคต Clubhouse อาจจะกลายเป็นโซเชียลมีเดียสำหรับการพูดคุยที่ขึ้นมาแซงทุก ๆ แพลตฟอร์ม
หรือกลายเป็นเพียงแอปพลิเคชันของผู้ใช้งานเฉพาะกลุ่ม เราคงจะต้องรอให้ทางทีมได้พัฒนาและปล่อย Version ของ Android
ให้ผู้ใช้งานทั่วโลกได้เข้าถึงกันอย่างทั่วถึงก่อน ถึงจะสามารถหาข้อสรุปได้
แล้วทุกคนคิดว่า Clubhouse มีแนวโน้มไปในทิศทางไหนลองมาแชร์กันครับ