4 เทคนิคจับตลาด Niche Market ให้อยู่หมัด

 

4 เทคนิคจับตลาด Niche Market ให้อยู่หมัด

 

4 เทคนิคจับตลาด Niche Market ให้อยู่หมัด

 

แม้ว่าการทำตลาดเฉพาะกลุ่ม หรือ Niche Market จะเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ให้ความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากใช้งบบประมาณและระยะเวลาไม่นาน แต่ให้ประสิทธิภาพในการครองใจลูกค้าได้ดี แต่กลับกลับ หากเป็นการยัดเยียดมากหรือทำเร่งด่วนเกินไปก็สามารถลดทอนคุณค่าของแบรนด์และอาจจะทำให้ลูกค้าหนีได้แน่นอน ทุกสิ่งทุกอย่างต้องค่อย ๆ สร้างบันได ปูทางไปสู่การดึงดูดเป้าหมายให้มากกว่าแค่มีเพียงสินค้าอย่างเดียว

ในกรณีที่คุณเพิ่งเริ่มสร้างแบรนด์ หรือยังไม่มีทักษะการตลาดด้านนี้แข็งแกร่งพอ การรู้จักเทคนิคเริ่มต้นการสร้างตลาดเฉพาะกลุ่มง่ายที่สุด แต่ได้ผลต่อเนื่อง มีด้วยกัน 4 วิธีดังนี้

1. ทำสิ่งที่ถนัดที่สุด รู้ลึกกว่าใคร : หากเจ้าของหรือผู้ประกอบการณ์มีความรู้ความเชี่ยวชาญในผลิตภัณฑ์ที่สูงมาก หรือหากผู้จัดจำหน่ายเข้าใจในสินค้าจะสร้างความได้เปรียบในการนำเสนอ เนื่องจาก Niche Market ต้องการผู้ที่เข้าใจในตัวสินค้าได้ดีที่สุดหรือการบริการที่ถูกจุด ก็จะช่วยสร้างความมั่นใจได้มากยิ่งขึ้น

2. โฟกัสเป้าหมายให้ตรงกับสินค้าของคุณ : ก่อนที่จะทำตลาดเฉพาะกลุ่ม คุณควรศึกษาตัวแบรนด์หรือตัวสินค้าว่าเหมาะสำหรับกลุ่มเป้าหมายใด ยิ่งถ้าได้รู้จักจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ตัวเองดีพอก็จะสามารถมองไลฟ์สไตล์เป้าหมายที่เข้ากับสินค้าได้ดีที่สุด โดยสามารถหาได้จากกลุ่มเฟซบุ๊ก การลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลทั้งแบบออฟไลน์อย่างการสอบถามผู้คนในพื้นที่ที่ต้องการ การสำรวจภูมิศาสตร์ สินค้า และช่องทางจำหน่ายในท้องถิ่น หรือการทำแบบสอบถามในช่องทางออนไลน์

การค้นหาคีย์เวิร์ด และเทรนด์ที่กำลังได้รับความนิยมในช่วงเวลานี้ จะช่วยในการกำหนดและโฟกัสตลาดเป้าหมายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น อาทิ ติดตามข่าวรอบตัว, แฮทช์แท็กในโซเชียลมีเดีย, Google Trend,  Keywordtool.io จนถึงสอบถามความต้องการจากตัวเองหรือคนรอบข้าง เช่น เทคนิคอยากผอม, โฟมล้างหน้าลดสิว หรือกลางวันจะกินร้านไหนดีที่ไม่ต้องออกตากแดด

3. สร้างความแตกต่าง ตีตลาดได้หนักหน่วง : ไม่ว่าใครต่างก็ต้องการสินค้าหรือบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าในกลุ่มที่ต้องการทำตลาดมากที่สุด หรือทวนกระแสแบรนด์อื่นจนมีจุดเด่นเฉพาะตัว ตั้งแต่การออกแบบตัวแบรนด์ ผลิตภัณฑ์ จนถึงยุทธศาสตร์การให้บริการ และการโปรโมทเพื่อช่วยจับลูกค้าเฉพาะกลุ่มได้อยู่หมัด

อาทิ การใช้วัสดุหรือวัตถุดิบที่ผลิตในท้องถิ่น, การต่อยอดสิ่งที่มีอยู่เดิมให้โดดเด่น แตกต่างจากคู่แข่ง, การออกแบบซิกเนเจอร์แบรนด์เพิ่มความชัดเจนของตัวแบรนด์, เลือกใช้ช่องทางจัดจำหน่ายเหมาะสม เช่น ร้านค้าในชุมชน หรือในโซเชียลมีเดีย ไปจนถึงการกำหนดราคาสมเหตุสมผล ไม่แพงหรือถูกจนเกินไป
ส่วนกรณีรับสินค้าจากต้นทางมาจัดจำหน่ายล่ะ? ก็ต้องคิดหาไอเดียกลยุทธ์การโปรโมท การใช้ภาษาลูกเล่น การพรีวิวหรือรีวิว และเลือกใช้ช่องทางโปรโมทหลาย ๆ แห่ง ยกตัวอย่างเช่น บังฮาซัน จากเพจอาหารทะเลตากแห้ง จ.สตูล ที่นำเทคนิคการบรรยายสินค้า การใช้ภาษา ไปจนถึงการใช้โซเชียลมีเดียให้เกิดไวรัลจนสามารถทำยอดขายได้สูงสุดเป็นหลักล้าน

4. เสียงจากลูกค้า เมล็ดแห่งความภักดีต่อแบรนด์ : ความได้เปรียบของการทำตลาด Niche Market อย่างหนึ่งก็คือ เจ้าของแบรนด์หรือเจ้าของผู้จัดจำหน่ายจะสามารถติดตามความคิดเห็นของลูกค้าได้ดีกว่าตลาดขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นคำชม หรือคำวิจารณ์ สิ่งเหล่านี้จะเป็นข้อมูลที่จะช่วยพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ และการบริการที่ดียิ่งขึ้น และทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าให้ความสำคัญในการมีส่วนร่วมต่อแบรนด์

พื้นที่รับฟังเสียงลูกค้ามีตั้งแต่ช่องทางใกล้สุดอย่างการไล่อ่านคอมเมนต์, แชทข้อความหรือเบอร์โทรศัพท์สำหรับแสดงความเห็น, สอดส่องรีวิวจากบล็อกเกอร์หรือในกระทู้ต่าง ๆ เป็นต้น

หัวใจสำคัญของการทำตลาด Niche Market ก็คือการรักษาใจของลูกค้าที่ต้องการบางสิ่งบางอย่างเพื่อเติมเต็มความสมบูรณ์แบบได้เป็นอย่างดี และเมื่อการสร้างฐานลูกค้าได้แข็งแกร่งแล้ว พวกเขาก็จะทำหน้าที่เป็นช่องทางในการแนะนำผลิตภัณฑ์แบบปากต่อปากโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของการกระจายกลุ่มเป้าหมายได้มากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง

แล้วคุณล่ะ มีตลาดเฉพาะกลุ่มไหนที่อยากจะลองนำเสนอสินค้าและจัดจำหน่ายดูบ้างล่ะ?

ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง กับ 4 เทคนิคจับตลาด Niche Market ให้อยู่หมัด

แม้ว่าการทำตลาดเฉพาะกลุ่ม หรือ Niche Market จะเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ให้ความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากใช้งบบประมาณและระยะเวลาไม่นาน

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ตรวจสอบและทำความเข้าใจ นโยบายคุกกี้ และดำเนินการต่อ

รับทราบ